กระจูดเป็นพืชในท้องถิ่นของภาคใต้ เจริญเติบโตในพื้นที่มีน้ำท่วมถึง เช่นทุ่งหรือป่าพรุ ลำต้นกลมกลวงเป็นข้อแต่รีดให้แบบได้ ในตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ลุ่มที่ต้นกระจูดเติบโตได้ตามธรรมชาติ บรรพบุรุษในท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากกระจูดที่ตากแห้งแล้วเพื่อจักสานเป็นเสื่อ กระบุง กระสอบ สมุก ตะกร้า ฯ เพื่อใช้ใส่สิ่งของต่างๆตามวิถีชีวิต ความรู้ที่สะสมและถ่ายทอดมายาวนานเกิดเป็นงานหัตถกรรม และภูมิปัญญาที่มีคุณค่าถึงปัจจุบัน
จักสานกระจูดเป็นทรงกลม แปดมุม มีฝาปิด ในอดีตใช้สำหรับใส่ของใช้ หมาก พลู
จักสานฐานเป็นสี่มุมด้านเท่า ตัวเป็นทรงกระบอก สูงต่ำตามลักษณะการนำไปใช้งาน
เสื่อกระจูดหรือสาดจูดในภาษาใต้ เป็นการจักสานต้นกระจูดให้เป็นผืนกว้างยาวตามขนาดของต้นกระจูด สำหรับใช้ปูนอน หรือใช้รองตากข้าวเปลือกในอดีต
การสานกระจูดเป็นทรงกระบอก ใส่นุ่นไว้ด้านใน แล้วสานปิดหัวปิดท้าย สำหรับใช้รองนั่ง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูด บ้านห้วยลึก เป็นผู้ประกอบการ OTOP ซึ่งผลิตสินค้าหัตถกรรมจักสานจากต้นกระจูด เป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้สะสมและสืบทอดมาเป็นเวลายาวนาน กว่า 20 ปี ทำให้ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับคัดสรรเป็นสินค้าหัตถกรรมคุณภาพ และได้รับมาตรฐานสินค้า OTOP ระดับประเทศ ผลิตภัณฑ์กระจูดที่รู้จักจากสินค้าหัตถกรรม OTOP เช่น เสื่อกระจูด ตะกร้ากระจูด กระเป๋ากระจูด ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทย จนปัจจุบันกลุ่มฯ ได้พัฒนารูปแบบของสินค้าหัตถกรรมให้มีความหลากหลายและทันสมัยโดยใช้การจักสานและตัดเย็บ นอกจากกระสานกระจูดแล้วกระจูดประดิษฐ์อะไรได้อีกบ้าง เช่นกระเป๋าเดินทางแบบมีล้อ กระเป๋าแฟชั่นแบบตัดเย็บ กระเป๋าเอกสาร หมวกเปียจากเส้นกระจูด แฟ้มเอกสาร ปกเมนู ปกเมนูร้านอาหาร กล่องบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ข้าวสารจากวัสดุธรรมชาติ พัดจากเสื่อกระจูด แผ่นรองจาน แผ่นรองแก้วน้ำ ใช้เสื่อตกแต่งฝาผนังห้อง เพดานห้อง เป็นต้น เพื่อให้สินค้าหัตถกรรมตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ผู้ผลิตและจำหน่ายงานหัตถกรรมจักสานกระจูดทั้งแบบดั่งเดิม และพัฒนารูปแบบกระเป๋ากระจูดตัดเย็บ เป็นเอกลักษณ์กระเป๋าจากสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นของใช้หลากหลายรูปแบบ สวยงาม ทันสมัยตามแบบแฟชั่น ให้สามารถนำไปใช้งานได้ตรงความต้องการของลูกค้า
ต้นกระจูดอยู่ในวิถึชีวิตประจำวันของคนท้องถิ่นภาคใต้มาตั้งแต่ดั่งเดิม เนื่องจากกระจูดเป็นพืชพื้นถิ่น สามารถหาได้ง่ายมีทั่วไปในป่าพรุของชุมชน นำมาใช้จักสานเพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน จนเมื่อมีการส่งเสริมศิลปาชีพเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประมาณปี ๒๕๒๗ ในครั้งนี้ แม่เฒ่าเพียร นิ่มเผือก ได้เข้าร่วมกิจกรรม จึงได้สานสมุกให้กำนันส่งเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเข้าประกวด ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ จังหวัดนราธิวาส และได้รับรางวัลด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการได้รับความสำคัญในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา สืบทอดงานจักสานกระจูดไม่ให้เลือนหายไป ลูกหลานหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูดเพื่อให้เป็นประโยชน์ สร้างรายได้แก่ชุมชน และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ โดยนำภูมิปัญญาซึ่งถ่ายทอดมาจากปู่ย่าตายาย ในการสานเสื่อกระจูด กระบุง กระจาด สมุก ตะกร้า ซึ่งเคยจักสานไว้ใช้งานในครัวเรือนด้วยต้นกระจูดซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น เมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มฯขึ้น ได้พัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้ากระจูดให้เข้ากับยุคสมัย นำไปใช้งานได้หลากหลาย มีการจัดการที่ดีทำให้สินค้ามีคุณภาพ ตรงความต้องการของลูกค้า ขยายตลาดเพิ่มขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อได้ส่งเสริมให้สมาชิกและครอบครัวของสมาชิกมีรายได้เสริม อีกทั้งยังได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาในการจักสานกระจูด ถ่ายทอด สืบทอดให้กับลูกหลานในครัวเรือน เพื่อนบ้าน นักเรียน นักศึกษา หรือชุมชนอื่นๆที่มีความสนใจภูมิปัญญาของงานหัตถกรรมจักสานกระจูด
ดูข้อมูลวิสาหกิจชุมชน หัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก ได้ที่นี่ >>ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูด
จากภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรมและการพัฒนารูปแบบสินค้าให้ทันสมัย จึงสามารถผลิตเป็นสินค้าหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์จักสานคุณภาพ โดยได้รับมาตรฐานสินค้า OTOP ระดับประเทศ บริหารจัดการด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อผลิตผลงานหัตถกรรมฝีมือคนไทยและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นรายได้ให้กับชุมชน จากระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี ในการทำงานหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษได้สืบทอดสู่ลูกหลาน เพื่อรักษาศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป
วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูด บ้านห้วยลึก จ.สุราษฎร์ธานี
31/1 หมู่ 6 ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
081 892 4677 , 089 926 1175
kajood_surat@yahoo.com